ประวัติ ตำนานคำชะโนด ที่กล่าวขานกันมาช้านาน
คำชะโนด เป็นสถานที่ที่เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งในภาคอีสานของประเทศไทย เป็นที่ที่มีการรู้จักกันอย่างแพร่หลายในสังคมชาวไทย ซึ่งไม่เฉพาะแต่คนอีสานเท่านั้น หากแม้นคนหลายๆภาคหรือทั่วโลกที่เข้าไปสักการบูชากันเป็นอย่างมากด้วยศรัทธาที่อาจจะมองถึงความอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง
หรือเกิดขึ้นกับผู้อื่นที่ตนเองพบก็ดี มีตำนานที่เล่าขานถึงความลี้ลับใน ป่าคำชะโนด แม้กระทั่ง ตำนานผีจ้างหนังก็ตาม หากจะมองตามหลักวิทยาศาสตร์ก็อาจจะมองขัดแย้งกับความศรัทธาที่ประชาชนทั่วไปมองหรือศรัทธา
ณ ดินแดนเมืองคำชะโนด หรือ วังนาคินทร์คำชะโนด
ตั้งอยู่ในพื้นที่ 3 ตำบล คือ ตำบลวังทอง ตำบลบ้านม่วง และ ตำบลบ้านจันทร์ ในอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เป็นป่าที่มีลักษณะเนินเกาะที่ขึ้นอยู่กลางทุ่งนา จากตำนานพื้นบ้าน เป็นสถานที่ๆเชื่อกันว่าเป็นเนินที่สิงสถิตของ พญานาค และสิ่งลี้ลับต่างๆ
บ่อยครั้งที่ชาวบ้านในระแวงนั้นจะพบเห็นชาวเมืองชะโนดไปเที่ยวงานบุญพระเวสสันดร บ้างครั้งก็จะมีหญิงสาวมายืมเครื่องมือทอผ้าอยู่เป็นประจำ เมื่อครั้งหนึ่งเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในที่รานลุ่มแม่น้ำแม่น้ำโขง รวมถึงอำเภอบ้านดุง แต่น้ำไม่ท่วมบริเวณคำชะโนด เมื่อระดับน้ำลดคำชะโนดก็ยังคงอยู่เช่นเดิม
ผู้เขียนเองได้มองมุมมองหลายๆมุม จึงได้ศึกษาหาข้อมูลหรือเอปสารต่างๆ หรือจากผู้รู้มา มาเป็นบทความพอให้เข้าใจในเรื่องดังกล่าว
ประวัติตำนานคำชะโนด
ประวัติตำนานคำชะโนด เล่าขานกันมานานแล้วว่า แต่ก่อนหนองกระแส หรือหนองแส ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไปในเขตลาว เป็นเมืองที่พญานาคครองอยู่โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วน 1 เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธนาค เป็นหัวหน้าครองอยู่ อีกส่วนหนึ่ง หัวหน้าผู้ครองอยู่ก็เป็นพญานาค เหมือนกัน มีชื่อว่า เจ้าพ่อพญาสุวรรณนาค มีบริวารอย่างละ 5000 เท่าๆกัน
พญานาคทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็ปกครองบริวารของแต่ละฝ่ายอยู่ด้วยกันอย่างมีความผาสุก มีความรักสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีอาหารแบ่งกันกิน มีความช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน และเป็นเพื่อนกันมาตลอด และมีข้อตกลงกันอยู่ข้อหนึ่งว่า
ถ้าฝ่ายใดออกไปล่าหาเนื้อ หาอาหาร อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องไม่ออกไป เพราะเกรงว่าหากต่างฝ่ายต่างออกไปล่าอาหารทั้ง 2 ฝ่าย อาจจะเกิดการกระทบกระทั่งแย่งอาหารกัน อาจจะเกิดการทะเลาะวิวารรบรากันได้
เมื่อฝ่ายที่ออกไปหาอาหารได้เนื้อสัตว์ใดก็ให้ แบ่งอาหารนั้นออกเป็น 2 ส่วน เท่าๆกัน ข้อตกลงนี้ได้ปฎิบัติกันมาเนินนาน โดยไม่มีข้อขัดแย้งแต่อยู่มาวันหนึ่ง พญาศรีสุทโธนาค พาบริวารไพร่พลไปลาเนื้อหาอาหาร และได้ช้างมาเป็นอาหาร
จึงแบ่งเนื้อช้าง พร้อมหนังและขนออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน นำไปมอบให้แก่พญาสุวรรณนาค ครึ่งหนึ่งตามสัญญาที่มีต่อกัน ต่างฝ่ายต่างก็กินเนื้อช้าง กันอย่างเอร็ดอร่อยและอิ่มหนำสำราญ เพราะเนื้อช้างมีมาก
ต่อมาวันหนึ่งพญาสุวรรณนาค ได้พาบริวารไพร่พลออกไปล่าเนื้อหาอาหารได้ “เม่น” จึงแบ่งเนื้อ”เม่น” หนัง และบน”เม่น” ออกเป็น 2 ส่วน เพื่อเอาไปให้พญาศรีสุทโธส่วนหนึ่ง ฝ่ายตนเก็บไว้กินส่วนหนึ่ง “เม่น” ตัวเล็กนิดเดียว เนื้อที่แบ่งไปให้พญาศรีสุทโธ จึงนิดเดียว ไม่พอกิน
พญาศรีสุทโธนาค ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นว่า “เม่น” มันตัวเล็กหรือโตแค่ไหน แต่เมื่อเอาขน ”เม่น” มาเทียบกับขนช้างแล้ว ขน “เม่น” ใหญ่กว่าหลายเท่า เมื่อขนใหญ่กว่าแน่นอน ตัวก็จะต้องใหญ่กว่าแน่นอน จึงคิดว่า พญาสุวรรณนาค เล่นไม่ซื่อ ไม่ปฎิบัติตามสัญญา
เมื่อเวลาตัวเองจับช้างมาได้ก็แบ่งเนื้อไปให้กินกันอย่างเหลือเฟือ พอพญาสุวรรณนาคได้ ”เม่น” มา กับแบ่งมาให้นิดเดียว ยิ่งคิดก็ยิ่งโกรธ จึงให้เสมาอำมาตย์ นำเนื้อ “เม่น” ที่ได้รับส่วนแบ่งมาครึ่งหนึ่ง เอาไปคืนให้พญาสุวรรณนาค พร้อมกับไปบอกว่า จะไม่ขอรับอาหารส่วนแบ่งที่ไม่เป็นธรรมจากเพื่อนที่ไม่ซื่อสัตย์
ฝ่ายพญาสุวรรณนาค เมื่อได้ทราบดังนั้นจึงร้อนใจ รีบเดินทางไปพบพญาศรีสุทโธนาค เพื่อชี้แจงให้ทราบว่า ”เม่น” ถึงแม้จะมีขนใหญ่โต แต่ตัวมันเล็กนิดเดียว จะเอาขนไปเทียบกับช้างไม่ได้ สัตว์แต่ละชนิดแตกต่างกันไป “ขอให้เพื่อนรับเนื้อ “เม่น” ไว้กินเป็นอาหารเสียเถิด
แต่ไม่ว่า พญาสุวรรณนาคจะพูดอย่างไร พญาศรีสุทโธนาค ก็ไม่ยอมเชื่อ จึงเกิดอารมณ์โกรธขึ้นมาทั้งสองฝ่ายเหตุการณ์รุ่นแรงขึ้นทุกขณะ ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมฟังเสียงกัน ผลสุดท้ายทั้ง2ฝ่าย จึงประกาศสงครามต่อกัน
พญาศรีสุทโธนาคซึ่งเป็นฝ่ายโกรธก่อน จึงส่งไพร่พลนาครบราทันที พญาสุวรรณนาคก็ไม่ยอมแพ้ เรียกระดมบริวารไพร่พลเข้าต่อสู้เป็นการใหญ่
เล่ากันว่าพญานาคทั้ง2ฝ่าย รบกันนานถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ต่างฝ่ายต่างเหนื่อยล้าเอาชนะกันไม่ได้ ทั้งสองฝ่ายพยายามจะเอาชนะกันให้ได้ เพื่อจะได้เป็นใหญ่ครองเมืองพญานาคทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว
การต่อสู้อย่างเอาเป็นเอาตาย ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บริเวณหนองกระแส และบริเวณรอบๆหนองแห่งนั้น เกิดความเดือดร้อนเสียหายมากมาย พื้นโลกสะเทือนเกิดแผ่นดินไหวไปทั่ว เทวดาน้อยใหญ่ทั้งหลายเกิดความไปทั่วทั่ง 3 ภพ
ทราบไปถึงพระอินทร์ ซึ่งเป็นประมุขของเทวดา จึงเรียกเทวดาเข้าเฝ้าเล่าเรื่องราวให้ฟัง เมื่อทรงทราบรายละเอียดแล้ว จึงเสด็จจากดาวดึงส์ลงมาฝั่งโลกมนุษย์ ที่เมืองหนองกระแส แล้วตรัสเป็นองค์การให้นาคทั้ง 2 ฝ่าย หยุดรบกัน ให้ถือว่าทั้ง 2 ฝ่าย เสมอกัน ไม่มีใครแพ้ใครชนะ
ให้หนองกระแสเกิดสันติสุขโดยด่วน และให้พากันสร้างแม่น้ำคนละสาย ออกจากหนองกระแส ใครสร้างถึงทะเลเสร็จก่อนจะให้ปลาบึกลงไปอยู่ในแม่น้ำสายนั้น และเพื่อป้องกันการทะเลาะวิวารของพญานาคทั้ง 2 ฝ่าย ให้เอาภูเขาพญาไฟเป็นเขตกั้นคนละฝ่าย ใครข้ามไปรุกรานราวี ขอให้ไฟจากภูเขาพญาไฟไหม้ฝ่ายนั้น
เมื่อพระอินทร์ตรัสเป็นเทวโองการดังกล่าวแล้วพญาศรีสุทโธนาค จึงพาบริวานไพร่พลอพยพออกจากหนองกระแส สร้างแม่น้ำมุ่งไปทางทิศตะวันออกของหนองกระแส เมื่อไปถึงตรงไหนเป็นภูเขาขวางอยู่แม่น้ำก็จะคดโค้งไปตามภูเขา เพราะพญาศรีสุทโท เป็นนาคใจร้อน แม่น้ำสายนี้เรียกว่า แม่น้ำโขง คำว่า โขง แปลมาจากคำว่าโค้ง คือไม่ตรง
ส่วนพญาสุวรรณนาค เมื่อได้รับเทวโองการ จึงพาไพร่พล อพยพจากหนองกระแส สร้างแม่น้ำมุ่งไปทางทิศใต้ พญาสุรรณนาคเป็นนาคที่ใจเย็น พิถีพิถันและซื่อตรง การสร้างแม่น้ำจึงทำให้ตรงแม่น้ำนี้เรียกชื่อว่า แม่น้ำน่าน เป็นแม่น้ำที่ตรงกว่าแม่น้ำทุกสาย
การสร้างแม่น้ำแข่งกันในครั้งนั้น ปรกฎว่าแม่น้ำโขงของพญาศรีสุทโธนาคสร้างเสร็จก่อน จึงเป็นผู้ชนะและมีปลาบึกอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง เพียงแห่งเดียวในโลก ตามเทวโองการของพระอินทร์
เมื่อพญาศรีสุทโธนาคสร้างแม่น้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงแผลงฤทธิ์ปาฎิหาริย์เหาะขึ้นไปเฝ้าพระอินทราธิราช ฝังดาวดึงส์ ทูลขอต่อพระอินทร์ว่า ตัวข้าเป็นชาติเชื้อพญานาค จะอยู่บนโลกนานเกินก็ไม่ได้ จึงขอทางขึ้นลงระหว่างเมืองบาดาลและโลกมนุษย์ เอาไว้ 3 แห่ง จะโปรดให้ครอบครองอยู่ตรงไหน แน่นอนพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ จึงอนุญาตให้มีรูพญานาค เอาไว้ 3 แห่ง
คือ แห่งที่หนึ่งปากปล่องพญานาค อยู่ที่บริเวณ “พระธาตุหลวง” ใจกลางกำแพงนครเวียงจันทร์ ประเทศลาว บางตำนานเล่าว่า บริเวณใต้ฐานพระธาตุหลวง จะมีลักษณะเป็นปากปล่องมีโพรงลึก เป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่ลงไปใต้ดิน ซึ่งต่อมา ได้สร้างพระธาตุครอบไว้
แห่งที่สอง ปากปล่องพญานาคอยู่บริเวณ “ดอนจันทร์” ของประเทศลาว ดอนจันทร์เป็นเกาะขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ผู้คนลุ่มน้ำโขงแถบนี้เชื่อว่า บริเวณหาดดอนจันทร์ มีประตูพญานาค ที่พระยาศรีสุทโธนาค ร้องขอไว้อีกแห่ง
แห่งที่สาม ปากปล่องพญานาคอยู่ที่ “เมืองคำชะโนด” ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี “คำชะโนด” มีลักษณะเป็นเกาะใหญ่โผล่ขึ้นกลางน้ำ ทั่งอาณาบริเวณคำชะโนด มีต้นไม้ลักษณะประหลาดชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเต็มบริเวณ ต้นไม้ชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า “ต้นชะโนด”
จากหลักฐานข้อมูล ลักษณะของต้นไม้ชนิดนี้ ได้รับการยืนยันว่า มีอยู่เฉพาะที่นี่แห่งเดียวในโลก ต้นชะโนด มีลักษณะคล้ายกกับต้นมะพร้าว ต้นหมาก และต้นตาลผสมกัน แต่มีขนาดเล็กกว่าต้นตาล ลำต้นเท่ากับต้นมะพร้าว มีกาบห่อหุ้ม ตามกาบรอบต้นจะมีหนามยาวแหลมคมน่าเกรงขาม เมื่อยามต้นชะโนดต้องลม จะมีเสียง วืดๆ หวือๆ ฟังแล้วน่าสะพรึงน่ากลัวยิ่งนัก
บริเวณด้านในของเกาะคำชะโนด มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ หรือ ปล่องพญานาค ปรากฏอยู่ในนั้น วังนาคินทร์ คำชะโนดแห่งนี้ ปรากฏตำนานลี้ลับ และเรื่องราวมหัศสจรรย์มากมายให้กล่าวขานตามตำนาน ตั้งแต่บัดนั้นจนมาถึงกึ่งพุทธกาล นับแต่ปี พ.ศ.2510 ถอยหลังไป
แหล่งที่มา : นายสวาท บุรีเพีย
สรุป
คำชะโนด สถานที่ท่องเที่ยวศักดิ์สิทธิ์ มาเพื่อสักการะ คำชะโนด ยังทำหน้าที่ในการหลอมรวมผู้คนเข้าหากันผ่านความเชื่อและความศรัทธาอันเป็นหนึ่งเดียว
สำหรับหลายคน ที่แห่งนี้จึงไม่ใช่แค่สถานที่ท่องเที่ยว แต่เป็นแหล่งพักพิงและที่พึ่งทางจิตใจของคนทั้งท้องถิ่นและต่างถิ่น เราเชื่อว่าการทำให้ใครสักคนคลายทุกข์ได้ชั่วขณะหรือตลอดไป นั้นคือความศักดิ์สิทธิ์หนึ่งของวังนาคินทร์แห่งนี้